ทุกท่านอาจมีความสงสัย หากตัวท่านเองนั้นได้ทำการปลูกรากเทียม (implant) หลายซี่แล้ว สามารถทำ MRI ได้หรือไม่ ? มีผลเสียต่อร่างกายหรือไหม อย่างไร ?
เนื่องจากการทำ MRI คือการฉายคลื่นรังสีแม่เหล็กที่มีอนุภาคโฟตอน เข้ามาในร่างกาย เผื่อให้ได้ภาพรังสีที่ต้องการ
ทันตแพทย์และผู้รับการรักษาจึงเกิดความกังวล เรื่องความร้อนที่ขึ้นจากกระตุ้นโดยแรงแม่เหล็กที่กระทำต่อวัสดุในการบูรณะในช่องปาก
ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักเครื่อง MRI และวัสดุที่ใช้ในงานทันตกรรมกันครับ
โดยปกติแล้ว MRI จะใช้แรงแม่เหล็ก (Magnetic force) ประมาณ 1.0-1.5 Tesla
ถ้าเทียบกันกับแรงแม่เหล็กของโลกคือ 50 μT ซึ่งจะมีค่ามากกว่า 10,000 เท่าโดยประมาณ
ต่อมาโดยปกติแล้ว เครื่อง MRI จะแบ่งได้ 3 ประเภท ตามกำลังของแรงแม่เหล็ก คือ
1. Low-field MRI scanners (0.23 T-0.3 T)
คุณภาพ ภาพที่ได้จะไม่ค่อยดี และใช้เวลาในเครื่องค่อนข้างนานกว่าประเภทอื่น
2.High-field MRI scanners (1.5 T to 3.0 T)
แบบ 1.5 T จะรวดเร็วคุณภาพ ภาพที่ได้จะดี เป็นประเภทที่ใช้กันแพร่หลาย
แบบ 3.0 T จะใช้ในกรณีต้องการเห็นรายละเอียดมากๆ เช่นเส้นเลือดของหัวใจหรือสมอง
3.Ultra-high field MRI scanners (7.0 T to 10 T)
อันนี้จะไม่ค่อยมีนอกจากในห้องปฎิบัติการวิจัย
มาดูกันต่อว่าวัสดุที่ใช้ในทางทันตกรรมตอบสนองต่อแรงแม่เหล็กอย่างไร เช่นกัน
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ตาม magnetic susceptibility (ค่าของสภาพรับไว้ได้เชิงแม่เหล็ก) คือ
1.Ferromagnetic
ประเภทแรกคือตอบสนองมาก เช่น chromium oxide, cobalt, ferrite (iron), cadolinium, nickel, rare earth magnet, magnetite, yttrium เป็นต้น วัสดุประเมิณนี้มักพบในชิ้นงานฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ
2.Paramagnetic
ประเภทนี้จะตอบสนองแต่ค่อนข้างน้อย คือ magnesium, tin, platinum, lithium, tantalum, aluminum, molybdenum รวมไปถึง titanium ที่เราใช้ในรากเทียมครับ
3.Diamagnetic
ประเภทนี้คือไม่มีการตอบสนองเลย นั้นคือ wood, zinc, copper, bismuth, silver, gold เป็นต้น
คราวนี้มาดูว่า ความร้อนที่เกิดขึ้น (Thermal heating) นั้นเกิดจาก Radio frequency (RF) นั้นเอง หมายถึงการเกิดความร้อนจากคลื่นแม่เหล็กไปกระตุ้นให้อนุภาคเล็กๆในวัสดุเกิดความร้อน แต่จากงานศึกษาวิจัยหลายๆงานพบว่า
โดย Muranaka H และคณะ ในปี 2010 ได้มีรายงานว่าเกิดความร้อนใน implant ที่ฝั่งใน hip join โดยเฉพาะบริเวณหัวข้อต่อที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งหากเป็นวัสดุ cobalt-chromium alloy จะเพิ่มขึ้น 9.0 C แต่หากเป็นวัสดุ titanium implant จะเพิ่มขึ้น 5.3 C (ชิ้นส่วนมีขนาดใหญ่ กว่ารากเทียมหลายเท่าตัวมาก)
ภาพแสดง hip implant ในกรณีเปลี่ยนข้อต่อบริเวณสะโพก
ต่อมา มาดูงานวิจัยฝั่งทันตแพทย์บ้าง โดย Yong-Ha Kim ในปี 2018 ก็ยังสรุปว่า ปลอดภัยในการใช้ในทางทันตกรรมที่ยาวนานมาถึง 30 ปี เพราะ Titanium นั้นเป็นกลุ่ม Paramagnetic มีค่า magnetic susceptibility เพียง 0.0001807 และไม่ได้มี report ปัญหาอะไรเลย หากดูรายงานของ FDA จะพบแค่เรื่องการ burn บริเวณที่ผิวหนัง ที่สัมผัสกับวัสดุที่เป็นโลหะเช่นพวกแท่ง electrocardiogram, pulse oximeters,medical patches เป็นต้น
ดังนั้น
“MRI can be safely used in patients with implants”
คำแนะนำคือ ควรถอดฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ (RPD) หรือ Metal Base CD ก่อนทำ MRI ครับ
การใช้ all ceramic จะปลอดภัยที่สุด รองลงมาคือ PFM หากจำเป็นต้องทำ FMC ควรใช้ noble alloy
Ref
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3722691/…
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20702992
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6369045/
#พรอสกะพง
#ไปด้วยกันไปได้ไกล
#รากเทียมปลอดภัยนาจา
#MRI
#Dentalimplant
#Safety